รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงโครงการ เราเที่ยวด้วยกัน ว่าการยกเลิก หรือเลื่อนการจอง ที่พักโรงแรม นั้น ไม่ถือว่าเป็นการเสียสิทธิ์ในการจองใหม่แต่อย่างใด (6 ม.ค.) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีข้อร้องเรียนของประชาชน ในการเลื่อนการจอง ที่พักโรงแรม ที่เข้าร่วมโครงการ เราเที่ยวด้วยกัน แล้วปรากฏว่าทางโรงแรมแจ้งว่า ถือเป็นการเสียสิทธิ์ร่วมโครงการในครั้งต่อไปนั้น
ขอเรียนว่า ผู้เข้าร่วมโครงการเราเที่ยวด้วยกัน
ที่มีการเลื่อนการจองที่พักออกไป หรือยกเลิกการจอง รวมถึงการจองห้องพักแต่ไม่ได้เข้าพัก ต่างยังคงได้รับสิทธิ์ส่วนลด 40 เปอร์เซ็นต์เช่นเดิม โดยไม่เสียสิทธิ์แต่อย่างใด ขณะนี้ธนาคารกรุงไทย กำลังแก้ไขระบบเพื่อรองรับการเลื่อน หรือยกเลิกการจองที่พักดังกล่าว เมื่อมีการเลื่อนจองห้องพัก โรงแรมสามารถรับเรื่องไว้ได้ก่อน และขอให้โรงแรมดำเนินการแจ้งการเลื่อนในระบบต่อไป เพื่อความปลอดภัยของประชาชนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รอบใหม่
เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รอบใหม่ รัฐบาลจึงขอความร่วมมือสมาคมโรงแรมไทยและผู้ประกอบการโรงแรมที่พักที่เข้าร่วมโครงการเราเที่ยวด้วยกันทุกแห่ง รวมถึง Online Travel Agency (OTA) ที่เข้าร่วมโครงการให้พิจารณาการช่วยรักษาสิทธิ์ในรูปแบบการคืนเงิน หรือการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการใช้สิทธิ์
โดยการออก Voucher ของโรงแรมให้แก่นักท่องเที่ยวไว้กลับมาใช้บริการภายหลัง สำหรับนักท่องเที่ยวที่ได้ชำระเงินไปแล้ว โดยที่การคืนเงินหรือการขยายระยะเวลาการใช้สิทธิ์นี้ ระบบจะไม่ตัดสิทธิ์การใช้ห้องพักของนักท่องเที่ยว และคืนสิทธิ์เข้าสู่ระบบของโครงการฯ เพื่อให้นักท่องเที่ยวคนอื่นได้ใช้สิทธิ์ต่อไป
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า สำหรับโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ปัจจุบันมีประชาชนลงทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 7.3 ล้านคน ผู้ประกอบการโรงแรมที่พักลงทะเบียนทั้งสิ้น 8,514 แห่ง โดยรวมมีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ แล้วไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท ขณะนี้กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬาโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย อยู่ระหว่างพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ขยายระยะเวลาโครงการฯออกไปจนถึงวันที่ 31 ต.ค. 2564
แรงงาน ลงมติลด เงินประกัน สมทบ พร้อมจ่ายทดแทน ว่างงาน โควิด-19
กระทรวง แรงงาน มีมติเห็นชอบในการลดอัตรา เงินประกัน สมทบนายจ้างและผู้ประกันตนเป็นเวลา 3 เดือน และเตรียมความพร้อมในการจ่ายเงินทดแทนจากการ ว่างงาน ในช่วงการแพร่ระบาดของ โควิด-19
เมื่อวันที่ 4 มกราคม ที่ผ่านมา กระทรวง แรงงาน ได้มีมติเห็นชอบในมาตรการเยียวยาผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่ได้รับผลจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ระลอกใหม่ โดยกำหนดให้มีการลดอัตรา เงินประกัน สมทบทั้งในส่วนของนายจ้าง และผู้ประกันตนเป็นเวลา 3 เดือน รวมไปถึงมีการเตรียมความพร้อมในการจ่ายเงินทดแทนจากการ ว่างงาน ในช่วงดังกล่าวอีกด้วย
นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว. กระทรวงแรงงาน ได้ทำการแถลงข่าวถึงผลการประชุม ณ ห้องประชุมประสงค์รณะนันทน์ โดยกล่าวว่า สำนักประกันสังคม ได้ทำการออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ปี 2563 ส่งผลให้มีการลดในส่วนเงินสมทบดังนี้
ทางด้านของนายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ให้ลดเหลือร้อยละ 3 ของเงินเดือน
ในส่วนของผู้ประกันตนในมาตรา 278 ให้เหลือเพียงแค่ 278 บาทต่อเดือน
โดยเป็นการดำเนินการเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงมีนาคม 2564 เพื่อทำการช่วยเหลือในการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของทุกฝ่าย ซึ่งคาดว่าจะช่วยได้เป็นมูลค่า 15,660 ล้านบาท
นอกจากนี้แล้วยังมีการพัฒนาระบบการชำระเงินสมทบอัตราใหม่ผ่านช่องทางต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมเป็นต้นไป ช่องทางดังกล่าวนั้นได้แก่ ผ่านทางเคาท์เตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ของ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารธนชาต, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารซิตี้แบงค์ และสำนักประกันสังคมในพื้นที่ใกล้เคียง
ซึ่งสำหรับผู้ประกันตนภายในมาตรา 39 ที่ใช้บริการการหักเงินจากบัญชีเงินฝากกับธนาคารต่าง ๆ นั้น หน่วยบริการทั้งหมดพร้อมดำเนินการโดยอัตโนมัติในรอบวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ส่วนผู้ที่มีความประสงค์จะจ่ายผ่านช่องทางเคาท์เตอร์ของเทสโก้โลตัสนั้นจะสามารถใช้บริการได้ภายในวันที่ 7 มกราคม, ของทางธนาคารกรุงศรีอยุธยา เริ่มในวันที่ 15 มกราคม และทางธนาคารธนชาตจะเปิดให้บริการในวันที่ 1 กุมภาพัน
ในส่วนของการดำเนินการจ่ายเงินทดแทนจากกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย (การถูกปลด/ไล่ออกจากงานเนื่องด้วยเหตุโรคระบาด) นั้น ทางหน่วยงานจะมีการดำเนินการให้ตามประเภทของผู้ประกันตน โดยแบ่งตามดังนี้
ลูกจ้างผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่ทำการจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือน แต่ไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากต้องทำการกักตัว หรือในกรณีที่นายจ้างหยุดการประกอบกิจการจนทำให้ไม่ได้รับค่าจ้างนั้น
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง