พบ นิคเกิล ใน นม คาดเป็นต้นตอ โรคปริศนา อินเดีย ป่วยกว่า 600 ราย

พบ นิคเกิล ใน นม คาดเป็นต้นตอ โรคปริศนา อินเดีย ป่วยกว่า 600 ราย

นักวิทยาศาสตร์ อินเดีย พบ นิคเกิล ใน นม ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับ โรคปริศนา ใน อินเดีย ที่มีผู้ป่วยสะสมแล้ว 600 ราย เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม สำนักข่าว อัลจาซีร่า รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์อินเดียพบ นิคเกิล ในตัวอย่างนม ที่เก็บมาจาก เมือง ออลเลอรุม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พบ โรคปริศนา ที่ส่งผลให้มีผู้ป่วยมากกว่า 600 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากโรคประหลาดนี้แล้ว 1 ศพ

โดยเจ้าหน้าที่ได้ให้สัมภาษณ์กับทางสำนักข่าวอัลจาซีร่าผ่านโทรศัพท์ว่า 

ทางการไม่ควรจะพบนิคเกิลในตัวอย่างนม และการค้นพบครั้งนี้เป็นสัญญาณเตือนพวกเขา ทั้งนี้ยังไม่มีสาเหตุแน่ชัดว่าเพราะเหตุใดถึงมีการค้นพบนิกเกิลในนม ซึ่งทางการได้วิเคราะห์ว่า ต้นตออาจจะมาจากสิ่งปนเปื้อนจากหญ้า หรือสิ่งที่วัวกินลงไป

ย้อนกลับไปสัปดาห์ที่แล้ว ทางการได้พบตะกั่วและนิคเกิลในเลือดของผู้ป่วย ซึ่งนอกจากในเลือดของผู้ป่วยแล้ว ไม่มีการค้นพบตะกั่วปนเปื้อนในพื้นที่อื่นเลย โดยเจ้าหน้าที่กำลังเร่งหาที่มาของตะกั่ว

สื่อท้องถิ่นรายงานว่า ผู้ป่วย โดยเฉพาะเด็กเริ่ม จะมีอาการแสบตา ก่อนจะอาเจียนออกมา โดยผู้ป่วยบางรายรู้สึกคลื่นไส้ หรือ หมดสติ ซึ่งทางการยังยืนยันว่าพวกเขาได้ทำการตรวจหาโรคโควิด-19 กับผู้ป่วยทั้งหมด และไม่พบผู้ป่วยมีผลตรวจเป็นบวก แม้แต่รายเดียว

ทั้งนี้ยังไม่มีการยืนยันว่านายมาครง ติดเชื้อมาจากที่ใด แต่ทางการฝรั่งเศสระบุว่า นายมาครง ได้รับเชื้อมาจากบุคคลที่เขาเคยใกล้ชิดด้วย ยังไม่มีการยืนยันว่าภรรยาของนายมาครง ป่วยเป็นโรคโควิด-19 ด้วยหรือไม่

ด้าน ฌอง กัสเต็กซ์ นายกรัฐมนตรีเข้ากักตัวเช่นกัน อย่างไรก็ตาม นายกัสเต็กซ์ยังไม่แสดงอาการป่วยแต่อย่างใด

ในสัปดาห์นี้ ทางการฝรั่งเศส ได้ประกาศใช้เคอร์ฟิวใน ตั้งแต่ช่วง 2 ทุ่มถึง 6 โมงเช้า โดยเคอร์ฟิวดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม ที่จะถึงนี้ ประเทศฝรั่งเศสมียอดผู้ป่วยสะสมมากกว่า 2 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสแล้วอย่างน้อย 59,000 ศพ

นายกเทศมนตรีปารีส ถูกปรับเงินหลายล้านบาท หลังจ้างผู้หญิงมากไป ผิดกฏความเท่าเทียมทางเพศของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม สำนักข่าว BBC รายงานว่า นาง แอนนี่ ฮิดัลโก นายกเทศมนตรีกรุงปารีส เมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศส ถูกปรับเงินราวๆ 3 ล้านบาท หลังจากที่เธอได้ทำการเลือก สตรี เข้ามาดำรงตำแหน่งบริหารมากเกินไป

ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฏในประเทศฝรั่งเศสที่ระบุว่า การว่าจ้างในตำแหน่งบริหารที่เกี่ยวข้องกับการบริการสาธารณะ ห้ามเป็นเพศใดเพศหนึ่งเกิน ร้อยละ 60 เพื่อสร้างความเท่าเทียมระหว่างเพศ อย่างไรก็ตาม อัตราว่าจ้างผู้หญิงของนาง ฮิดัลโก อยู่ที่ ร้อยละ 69

โดย นาง ฮิดัลโก ได้กล่าวในสภาว่า “การปรับเงินครั้งนี้เป็นอะไรที่ไร้สาระ ไม่ยุติธรรม ไร้ความรับผิดชอบ และ อันตราย” ซึ่งเธอได้เน้นย้ำว่าในปัจจุบัน การมอบตำแหน่งบริหารให้กับผู้หญิงในประเทศฝรั่งเศสยังต่ำอยู่ และจำเป็นต้องมีการเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ด้วยการเลือก ผู้หญิง เข้ามาดำรงตำแหน่งมากกว่า ผู้ชาย

ด้าน นาง อเมเลีย เดอ มอนชาลิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงบริการสาธารณะ ได้กล่าวเชิญชวนนายกเทศมนตรีกรุงปารีสให้มาร่วมหารือถึงวิธีการกระตุ้นให้เกิดการว่าจ้างผู้หญิงในงานบริการสาธารณะ และค่าปรับของเธอจะถูกนำไปใช้ในการสนับสนุนข้อเรียกร้องดังกล่าว

หนูน้อยวัย 9 ขวบ ตาย มลพิษทางอากาศ เป็นคนแรกของโลก

ศาลไต่สวนชันสูตรพลิกศพอังกฤษ ตัดสินให้ หนูน้อยวัย 9 ขวบ ตาย จาก มลพิษทางอากาศ ซึ่งถือเป็นคนแรกที่ถูกตัดสินให้เสียชีวิตจากมลพิษ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม สำนักข่าว CNN รายงานว่า ศาลไต่สวนชันสูตรพลิกศพ ได้เปิดเผยว่า สาเหตุการตาย หนูน้อย เอลล่า เด็กหญิงชาวอังกฤษวัยเก้าขวบ ที่เสียชีวิตในปี 2556 นั้น มาจากหอบหืด โดยมี มลพิษทางอากาศ เป็นตัวแปรสำคัญ โดย เอลล่า ถือว่าเป็นศพแรกของโลกที่ถูกระบุว่าเสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศ

หนูน้อยคนดังกล่าวอาศัยอยู่ใกล้กับกรุงลอนดอน หนึ่งในพื้นที่มีค่ามลพิษทางอากาศสูงเกินที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเธอถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลหลังจากที่หัวใจล้มเหลว ในปี 2556 และมีการเปิดเผยว่าในช่วงระยะเวลา 3 ปีก่อนที่เธอจะเสียชีวิต เธอมีอาการหัวใจวาย และ ภาวะหยุดหายใจ ส่งผลให้เธอต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลหลายครั้ง

นาย ฟิลิป บาร์โลว์ ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ชันสูตรพลิกศพ ระบุว่าครอบครัวของผู้ตายไม่ได้รับความรู้ที่มากพอเกี่ยวกับภาวะหอบหืดและมลพิษทางอากาศ ซึ่งอาจจะช่วยให้หนูน้อยคนดังกล่าวไม่ต้องจบชีวิตลงได้ โดยนายบาร์โลว์ ยังระบุอีกว่า เอลล่า ได้รับ ไนโตรเจนไดออกไซด์ มากเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกได้ระบุเอาไว้

คาดว่าการจราจรเป็นปัจจัยหลักที่นำไปสู่ความตายของเธอ ด้านแม่ของผู้ตายได้กล่าวว่า เธอต้องการเห็นการกระตุ้นความตื่นตัวทางมลพิษมากกว่าการเห็นการโยนความผิดไปให้อีกฝ่าย เพราะว่าเด็กคนอื่นๆ ต้องเดินในเมืองที่เต็มไปด้วยมลพิษทางอากาศเช่นเดียวกัน

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า