300 เป็นเหตุ! หนุ่มสั่้ง น้ำหวาน 300 บาท เข้าใจผิดเป็น 300 ขวดแทน

300 เป็นเหตุ! หนุ่มสั่้ง น้ำหวาน 300 บาท เข้าใจผิดเป็น 300 ขวดแทน

เหตุเกิดจากความเข้าใจผิดก็ว่าได้กับการที่ชายหนุ่มรายหนึ่งได้ทำการสั่งซื้อ น้ำหวาน ในราคา 300 บาท แต่พ่อค้าเข้าใจว่าเป็น 300 ขวดแทน  (13 มิ.ย. 2565) การสื่อสารได้อย่างถูกต้องนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญก็ว่าได้ ถ้าหากผิดพลาดขึ้นก็เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่นในกรณีนี้ที่ ชายหนุ่มรายหนึ่งได้ทำการสั่งซื้อ น้ำหวาน ในราคา 300 บาท แต่พ่อค้าเข้าใจว่าเป็น 300 ขวดแทน ทำเสียเงินเพิ่มเป็นมูลค่าถึง 6,000 บาท โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องราวของผู้ใช้งาน TikTok ชื่อบัญชี : danai_jj ที่ได้โพสต์คลิปวิดีโอสั้นที่บรรยายว่า “สั่งน้ำหวานไป 300 บาทได้ 300 ขวด ลูกค้าที่มาใช้บริการทางร้านหยิบได้เลยนะครับ”

ซึ่งเจ้าตัวได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ตนเองได้สั่งน้ำหวานกับร้านค้าแหแ่งหนึ่งภายในกรอบราคา 300 บาท และคละสี 

แต่ทางร้านเข้าใจผิดว่าเป็นจำนวน 300 ขวด และคละสี ที่เป็นเงิน 6,000 บาท โดยทั้ง 2 ฝ่ายต่างไม่ผิดใจอะไร และมองว่าเป็นการสื่อสารกันแบบไม่ถูกต้อง ทางร้านเองก็ได้ทำการลดราคาให้ 300 บาท เหลือเป็นเงิน 5,700 บาท

ชายคนดังกล่าวก็ได้ทำการโพสต์ไปว่า ไม่เป็นไรกับเหตุการณ์ที่ว่า และถ้ามีใครได้ดูคลิปแล้วแวะผ่านมาร้านค้าของเขาก็สามารถแวะเข้ามารับน้ำหวานกันได้แบบฟรี ๆ โดยส่วนหนึ่งของน้ำหวานนี้ก็จะเอาไปทำบุญด้วย ซึ่งก็มีผู้ที่รับชม และทราบข่าวที่ว่าเวียนกันไปรับบ้างแล้ว จนเป็นที่สนใจของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตหลาย ๆ คน

โดยข้อความเฟซบุ๊กระบุว่า “สวัสดีเช้าวันจันทร์ อันแสนสดใส”ทุกเที่ยวบินมีรอยยิ้ม ได้เวลาใช้วันหยุดที่เหลือ พาน้องๆขึ้นเครื่องกับนกแอร์ บริการพิเศษแบบเช่าเหมาลำ ในราคาเพียง “12,999” บาทเท่านั้น* (ผู้โดยสาร 2 คนต่อน้อง 1 ตัว) เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) – เชียงใหม่”

หลังจากที่มีทางนกแอร์ประชาสัมพันธ์ถึงโปรโมชั่นดังกล่าว ก็ได้มีเจ้าของสัตว์เลี้ยงจำนวนมากที่โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กแสดงความสนใจโปรโมชั่นนี้ ขณะที่มีชาวเน็ตบางส่วนได้ตั้งคำถามว่า หากมีสัตว์เลี้ยงสองตัวจะทำอย่างไรได้บ้าง อย่างไรก็ดียังไม่ได้ประกาศชัดเจนว่า โปรโมชั่นนี้จะเปิดให้จองเมื่อไหร่ และ จองได้กี่คน

ราชกิจจาฯ ร่อนประกาศ แท็กซี่ไม่ต้องกดมิเตอร์ วิ่งนอก 6 จังหวัด

ราชกิจจานุเบกษา ร่อนประกาศอนุญาต แท็กซี่ไม่ต้องกดมิเตอร์ สำหรับแท็กซี่ที่วิ่งนอกเขต 6 จังหวัด ผู้โดยสารและคนขับใช้วิธีต่อรองได้

เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศ เรื่อง กำหนดท้องที่ที่รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานครสามารถใช้วิธีตกลงราคา นอกจากการใช้มาตร(มิเตอร์)ค่าโดยสาร พ.ศ. 2565 โดยมีสาระสำคัญคือ รถแท็กซี่สามารถไม่กดมิเตอร์ ได้นอกเหนือจาก 6 จังหวัด ซึ่งผู้โดยสารสามารถต่อรองราคากับคนขับได้

โดยข้อความเฟซบุ๊กระบุว่า โดยที่สภาพข้อเท็จจริงในปัจจุบัน รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานครที่รับจ้างส่งผู้โดยสารไปยังจังหวัดต่าง ๆ ประชาชนผู้ใช้บริการและผู้รับจ้างนิยมใช้วิธีการตกลงราคาหรือเช่าเหมาแทนการคิดค่าโดยสารจากมาตรค่าโดยสาร

ซึ่งการดำเนินการด้วยวิธีการดังกล่าว ไม่สอดคล้องกับกฎระเบียบที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน สมควรปรับวิธีการเรียกเก็บค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารให้มีความยืดหยุ่นและมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เกิดความคล่องตัวในการรับจ้างที่มีระยะทางไกล และเป็นไปตามความตกลงของผู้ใช้บริการและผู้ขับรถยนต์รับจ้าง

อาศัยอำนาจตามความในข้อ 13 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน พ.ศ. 2560 ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

1.กำหนดท้องที่การรับจ้างของรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ทำการรับจ้างนอกเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร และจังหวัดนครปฐม

รวมถึงกรณีการรับจ้างในเขตจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งต่อเนื่องไปสิ้นสุดการรับจ้างนอกเขตจังหวัดดังกล่าว สามารถใช้วิธีตกลงราคาเรียกเก็บค่าจ้างบรรทุกคนโดยสาร นอกจากการใช้มาตรค่าโดยสารได้ด้วย

2.ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

กลายเป็นประเด็น ดราม่าพานไหว้ครู หลังจากที่แม่ถามครูว่าทำไมต้องเก็บเงิน โดนครูฟาดแรง เป็นแม่คน ก็น่าจะคิดได้ เพจ อยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทริน์ part 3 ได้โพสต์ข้อความและภาพเฟซบุ๊ก โดยเป็นภาพของบทสนทนาในไลน์ระหว่างครูประจำชั้น ป.4/7 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งใน จ.อุตรดิตถ์ และ ผู้ปกครองท่านหนึ่ง โดยทางเพจเขียนข้อความแคปชั่นระบุว่า “ทำไมโรงเรียนต้องเก็บค่าทำพานไหว้ครู?? #แต่คำตอบครูก็สื่อถึงวุฒิภาวะนะคะ #โรงเรียนในอุตรดิตถ์”

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า